"พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป "

ตั้งอยู่บนถนนเจ้าฟ้า  เขตพระนคร ในอดีตเป็นสถานที่ตั้งพระตำหนัก
ของเจ้านายฝ่ายวังหน้า (กรมพระราชวังบวรสถานมงคล) มาแต่ครั้งรัชกาล พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้า
จุฬาโลกมหาราช จนเป็นที่มาของชื่อ “ถนนเจ้าฟ้า” ในปัจจุบัน

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้สร้างโรงงานผลิตเงินเหรียญแห่งใหม่ที่มีความทันสมัย โดยเลือกพื้นที่บริเวณริมคลองคูเมืองเดิม ใกล้วัดชนะสงคราม    ดั้งนั้นจึงต้องรื้อถอนพระตำหนัก
ของเจ้านาย ฝ่ายวังหน้าที่ตั้งอยู่บริเวณนี้ และพระราช ทานเงินค่ารื้อถอน และสร้างวังใหม่ให้แก่เจ้านายทุกพระองค์ เพื่อก่อสร้างโรงงานผลิตเหรียญดังกล่าว ซึ่งเมื่อสร้างแล้วเสร็จ  ได้รับพระราชทานนามว่า “โรงกษาปณ์สิทธิการ”
โรงงานกษาปณ์สิทธิการ สร้างขึ้นตามลักษณะ

สถาปัตยกรรมตะวันตก โดย นายคาร์โล อัลเลกรี (Carlo Allegri) สถาปนิกชาวอิตาเลียนประจำราช สำนักสยามเป็นผู้ออกแบบ โดยได้แรงบันดาลใจมา จากโรงงาน เครื่องจักรที่เมืองเบอร์มิ่งแฮม ประเทศอังกฤษ มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมคือ อาคารหลักด้านหน้าเป็น ทรงปั้นหยา สูงสองชั้น หลังคามุงกระเบื้องว่าว สองข้างอาคารหลักต่อเป็นปีก ทอดยาว เป็นอาคารชั้นเดียวหักมุมฉากสี่ด้านบรรจบกันเป็นรูปส ี่เหลี่ยมจัตุรัส เชื่อมต่อกัน บริเวณสันหลังคา เชิงชาย ช่องบานประตู หน้าต่างประดับด้วยลวดลายฉลุไม้อย่างงดงาม

การก่อสร้างโรงงานกษาปณ์สิทธิการเสร็จสมบูรณ์และเริ่ม ดำเนินการผลิตเหรียญ ครั้งแรกในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2445  ใช้งานเรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2511 กรมธนารักษ์จึงได้ย้ายไปสร้าง
โรงงานแห่งใหม่ โรงกษาปณ์สิทธิการจึงร้างลงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ห้องจัดแสดงศิลปะไทยประเพณี
จัดแสดงจิตรกรรมไทยประเพณีซึ่งเป็นจิตรกรรมที่มีวิธีการสร้างสรรค์อันเป็น เอกลักษณ์เฉพาะตัวและได้รับสืบทอดมาตั้งแต่อดีตจนกลายเป็นระเบียบแบบแผน โดยมีเนื้อหาหลักที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาที่สอดแทรกด้วยเรื่องราวใน วรรณคดีและวีถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในสมัยก่อนด้วย ดังเช่น พระบฏ (จิตรกรรมไทยประเพณีบนผืนผ้า) ในสมัยอยุธยา, จิตรกรรมฝีพระหัตถ์ของ สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ,จิตรกรรมชุดพงศาวดารประกอบโคลง ในสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น

ห้องจัดแสดงศิลปะไทยแบบตะวันตก
จัดแสดงผลงานในแบบตะวันตกที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยศิลปิน ชาวตะวันตกที่เข้ามารับราชการในเมืองไทยและศิลปินไทยที่ได้ไปศึกษางานศิลปะ ยังต่างประเทศ   ดังเช่น ผลงานของพระสรลักษณ์ลิขิต มหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, ภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เขียนโดยศิลปินชาวตะวันตก โดยใช้เทคนิคภาพพิมพ์ เป็นต้น

ห้องเฉลิมพระเกียรติ
จัดแสดงภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของพระมหากษัตริย์  เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสชื่นชมในพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพในการ สร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรม ดังเช่นผลงานภาพฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช

ห้องจัดแสดงศิลปกรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน
จัดแสดงศิลปกรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 – 2510 เริ่มตั้งแต่ยุคของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็น ระบบประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2475 ส่งผลให้รัฐบาลมีบทบาทในการสนับสนุนและอุปถัมภ์ศิลปกรรมแขนงต่างๆแทนราช สำนัก   ดังเช่น  ผลงานของ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี , เฟื้อ หริพิทักษ์ , มีเซียม  ยิบอินซอย, เขียน  ยิ้มศิริ, จำรัส เกียรติ , อังคาร กัลยาณพงศ์, ชลูด นิ่มเสมอ, ประสงค์ ปัทมนุช เป็นต้น
จัดแสดงศิลปวัตถุตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 เป็นต้นมา ซึ่งในช่วงนี้ถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความคิดสร้างสรรค์ ได้ปรากฏสถาบันทางศิลปะและกลุ่มศิลปินมากมาย ศิลปินล้วนมีอิสรภาพในเรื่องแนวความคิดและความเชื่อส่วนบุคคล มีรูปแบบ เทคนิควิธีการทางศิลปะที่มีความแตกต่างและหลากหลายยิ่งขึ้น  ในห้องนี้ได้จัดแสดงผลงานของศิลปินแห่งชาติและศิลปินที่มีชื่อเสียงหลายท่าน ดังเช่นผลงาน ของ นนธิวรรธน์ จันทนะผะลิน, ปรีชา เถาทอง, จักรพันธุ์  โปษยกฤต, อิทธิพล ตั้งโฉลก,  ประเทือง  เอมเจริญ, ช่วง  มูลพินิจ, เฉลิมชัย  โฆษิตพิพัฒน์, กมล ทัศนาชลี ,วิโชค  มุกดามณี เป็นต้น

ห้องจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน จะมีการจัดนิทัศการ ตลอดทั้งปี
อัตราค่าเข้าชม
• ชาวไทย 10 บาท
• ชาวต่างประเทศ 30 บาท
• นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ พระภิกษุ สามเณรและนักบวชในศาสนาอื่น ไม่เสียค่าเข้าชม

  ที่อยู่ติดต่อ

   เลขที่4 ถนนเจ้าฟ้า เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
  เปิดให้บริการ เวลาทำการ 9.00-16.00 น.
 โทร. (02) 282-2639-40  (02) 281-2224  ต่อ 14, 17

แผนที่

  ค้นหาข้อมูล

วัดโพธิ์

ช่างชุ่ย

วัดบวรนิเวศฯ

ตลาดน้ำคลองลัดมะยม

ตลาดน้ำขวัญ-เรียม

ตลาดน้ำตลิ่งชัน